พวงหรีด ปากเกร็ด
พวงหรีด ปากเกร็ดจัดส่งถึงวัด! วัดบางพูดใน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด ร้าน “พวงหรีดออนไลน์” นำเสนอพวงหรีดหลากประเภท ทั้งพวงหรีดดอกไม้สด พวงหรีดพัดลม พวงหรีดผ้าห่ม-ผ้านวม พวงหรีดผ้าเต็ก พวงหรีดนาฬิกา ฯลฯ ในหลากหลายรูปแบบ และขนาด ใส่ใจคุณภาพ เราคือร้านพวงหรีดออนไลน์ ที่จัดทำพวงหรีดตามความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด เราจัดทำ และ QC ก่อนส่งมอบ ลูกค้าส่วนใหญ่จึงได้แบบตามที่ลูกค้าต้องการ และเรายังมีบริการจัดส่งพวงหรีดถึงทุกวัดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (โดยอาจมีค่าเดินทาง หากทางร้านคำนวณแล้วว่า ระยะทางไกลเกินที่ทางร้านจะรับภาระไหว) นอกจากนั้น เรายังมีบริการจัดส่งรูปให้ลูกค้าตรวจทานก่อนจัดส่ง และหลังจัดส่ง พร้อมออกใบเสร็จ (บิลเงินสด) พวงหรีด วัดบางพูดใน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด
ท้องที่อำเภอปากเกร็ดในครั้งแรกเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอ (หรือแขวง) ที่มีอยู่ก่อนสองอำเภอ คือ “อำเภอตลาดขวัญ” และ “อำเภอบ้านแหลมใหญ่และเกาะศาลากุน” ต่อมาจึงได้แยกพื้นที่บางส่วนจากอำเภอทั้งสองมารวมกันแล้วจัดตั้งเป็น อำเภอปากเกร็ด โดยมีพระรามัญนนทเขตต์คดี (เนียม นนทนาคร) เป็นนายอำเภอคนแรก และตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ในที่ธรณีสงฆ์วัดสนามเหนือ ต่อมาจึงย้ายไปตั้งที่หมู่ที่ 2 ตำบลปากเกร็ด ในสมัยที่หลวงรามัญนนทเขตต์คดี (เจ็ก นนทนาคร) บุตรชายของพระรามัญนนทเขตต์คดี (เนียม นนทนาคร) ขึ้นเป็นนายอำเภอ
พวงหรีด ปากเกร็ด
พวงหรีด ปากเกร็ดเมื่อ พ.ศ. 2463 กระทรวงนครบาลได้โอนตำบลอ้อมเกร็ด (เปลี่ยนชื่อมาจากตำบลบางบัวทอง) และตำบลบางพลับจากอำเภอบางบัวทอง กับโอนตำบลท่าอิฐจากอำเภอนนทบุรีมาขึ้นกับอำเภอ เพื่อความเหมาะสมด้านการปกครอง[6] ณ พ.ศ. 2470 อำเภอปากเกร็ดจึงมีท้องที่การปกครองรวม 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบ้านใหม่ตลาดเนื้อ ตำบลสีกัน ตำบลสองห้อง (ทุ่งสองห้อง) ตำบลบางตลาดฝั่งเหนือ (บางตลาด) ตำบลเกาะเกร็ด ตำบลท่าอิฐ ตำบลอ้อมเกร็ด ตำบลบางพลับ ตำบลบ้านแหลมใหญ่ (คลองพระอุดม) ตำบลบางตะไนย์ และตำบลคลองข่อย[7]
เดิมอำเภอปากเกร็ดมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกติดต่อกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนครโดยใช้คลองเปรมประชากรตั้งแต่คลองบางตลาดขึ้นไปจนถึงคลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อเป็นเส้นแบ่งเขตเป็นเส้นแบ่งเขต[8] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2475 ทางราชการได้โอนตำบลทุ่งสองห้องไปอยู่ในท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน[9] และใน พ.ศ. 2480 ได้โอนตำบลสีกัน และหมู่ที่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านใหม่ เฉพาะส่วนที่อยู่ทางฟากตะวันออกของคลองประปา ไปขึ้นกับอำเภอบางเขน กับโอนพื้นที่หมู่ที่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางตลาด เฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตหวงห้ามของคลองประปาฝั่งตะวันตก ไปขึ้นกับตำบลทุ่งสองห้อง (ซึ่งได้ย้ายไปขึ้นกับอำเภอบางเขนอยู่ก่อนแล้ว) โดยใช้แนวเขตหวงห้ามของคลองประปาฝั่งตะวันตกเป็นเส้นเขต[10]
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอปากเกร็ดย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร[11] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2489 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้ง[12] อำเภอปากเกร็ดจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดนับแต่นั้น
ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการปรับปรุงเขตการปกครองระดับตำบลภายในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอยู่เนือง ๆ เช่น ยุบตำบลบ้านใหม่ตลาดเนื้อรวมเข้ากับตำบลบางพูด ยุบตำบลบางพลับรวมเข้ากับตำบลอ้อมเกร็ด เป็นต้น จนกระทั่งในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตตำบลเดิมและตั้งตำบลใหม่อีกครั้ง โดยแยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลปากเกร็ดตั้งเป็นตำบลบางตลาด แยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางพูดตั้งเป็นตำบลบ้านใหม่ รวมพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางตะไนย์และอ้อมเกร็ดตั้งเป็นตำบลคลองพระอุดม และแยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลอ้อมเกร็ดตั้งเป็นตำบลบางพลับ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน[13]
ต่อมาอำเภอปากเกร็ดได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งริมถนนแจ้งวัฒนะ หมู่ที่ 5 ตำบลปากเกร็ด เมื่อ พ.ศ. 2505 เพื่อให้ประชาชนมาติดต่อราชการได้สะดวกยิ่งขึ้น และในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกพื้นที่ทางทิศตะวันออกของตำบลปากเกร็ดตั้งเป็นตำบลคลองเกลือ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ปีเดียวกัน[14] ท้องที่อำเภอปากเกร็ดจึงประกอบด้วย 12 ตำบลจนถึงปัจจุบัน